กฏหมายแรงงานเรื่อง "ลาป่วยต้องมีใบรับรองแพทย์" มันจริงหรือไม่..??
http://kwamsukz.com/6885/
อ่านลิ้งค์นี้แล้วตีความด้วยนะทุกๆท่าน อย่าผ่านเลยไป ย้ำว่าให้อ่าน
กลายเป็นประเด็นร้อนแรงในโลกออนไลน์อย่างมาก เพราะว่าล่าสุดได้มีเพจดังอย่าง “เพจแหม่มโพธิ์ดำ” ได้โพสต์รูปใบรับรองแพทย์ของลูกเพจที่หมอได้เขียนหมายเหตุมาให้ในนั้น ขอบอกเลยว่าทำเอาทุกคนถึงกับต้องตาสว่างกันเลยทีเดียว เพราะหมอได้เขียนไว้ในใบรับรองแพทย์อย่างชัดเจนว่า
“การกรรโชกใบรับรองแพทย์กรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วันผิดกฏหมายแรงงาน เลว และเห็นแก่ตัวทำให้เกิดปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาล ริดรอนสิทธิคนไข้ คนไข้มีสิทธิหยุด 3 วันโดยไม่มีใบแพทย์ต้องมีวันหยุดลาป่วยให้คนไข้ 20-30 วัน/ปี และวันลาป่วยต้องได้ค่าแรง”
เป็นยังไงล่ะคะแอดมินบอกเลยว่า นายจ้างมีเงิบ จากที่แอดมินไปหาข้อมูลมานะคะกฏหมายแรงงานเค้าว่าไว้ตามนี้
“สิทธิการลาป่วยของลูกจ้าง ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง หากลูกจ้างป่วยจริงและลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไปนายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่ง หรือของสถานพยาบาลของทางราชการ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองแพทย์ได้ ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ”
กฏหมายบอกไว้ชัด
บรรทัดสุดท้ายว่า ไม่จำเป็นต้องมีใบรับรองแพทย์
แต่ขอให้ชี้แจงให้นายจ้างทราบก้อพอ
เพราะการไปโรงพยาบาล เพื่อขอใบรับรองแพทย์ มันหมายถึงไปเป็นขยะจริงๆ ที่หมอเค้าชี้แจงมา
กระทรวงแรงงาน ชี้ลาป่วย 1 วัน เป็นสิทธิ์ลูกจ้าง
http://www.bugaboo.tv/watch/341664/ก.แรงงาน_ชี้ลาป่วย_1_วัน_เป็นสิทธิ์ลูกจ้าง.html
Post dated: 28 ก.ย. 2560 เวลา 17:10 น.
ข่าว 7 สี - กระทรวงแรงงาน ชี้แจงลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยเท่าที่ป่วยจริง ส่วนเรื่องการแสดงใบรับรองแพทย์ ต้องใช้ในกรณีลาป่วย 3 วันทำงานขึ้นไป
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดย นายอภิญญา สุจริตตานันท์ รองอธิบดี ชี้แจงว่า ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยเท่าที่ป่วยจริง และในแต่ละปีลาได้ไม่เกิน 30 วันทำงาน ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง และได้รับค่าจ้างในวันทำงาน
ส่วนการลาป่วยติดต่อกันตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้น 1 หรือของสถานพยาบาลราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ
การตอบคำถามในประเด็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันมาก ว่าบริษัทบังคับให้มีใบรับรองแพทย์มาแสดง แม้เป็นการลาป่วยเพียง 1 วัน กรณีนี้ ถือว่านายจ้างออกระเบียบ หรือข้อบังคับ เกี่ยวกับสิทธิการลาป่วยของลูกจ้างที่ขัดกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน นายจ้างก็จะไปบังคับกับลูกจ้างไม่ได้ และถ้าไปหักเงินเดือนในวันลา จะมีโทษปรับ 20,000 บาท
แต่ถ้าลูกจ้างไปพบแพทย์ และขอใบรับรองแพทย์ ก็เป็นสิทธิคนไข้ แต่การลาป่วยเป็นเท็จถือว่าผิดวินัย
ประเด็นใบรับรองแพทย์นี้ มาจากเพจ "แหม่มโพธิ์ดำ" โพสต์ภาพใบรับรองแพทย์ และแพทย์ได้ที่ลงความเห็นว่า เป็นการกรรโชกใบรับรองแพทย์ กรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วัน ผิดกฎหมายแรงงาน
ด้าน นายแพทย์สมศักดิ์ โล่ห์เลขา กรรมการแพทยสภา ระบุว่าแพทย์มักพบปัญหา คนไข้ขอใบรับรองแพทย์เพื่อหยุดงานจำนวนมาก ทั้งที่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย หรือตรวจวินิจฉัยแล้วอาการป่วยไม่แน่ชัด ทำให้คนไข้ล้นโรงพยาบาล ผู้ป่วยหนักต้องรอคิวนานไปด้วย อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าผู้ประกอบการต้องการใบรับรองแพทย์ เพื่อป้องกันปัญหาพนักงานหยุดงานโดยไม่จำเป็น
ขอบคุณภาพจาก : เพจเฟซบุ๊ก แหม่มโพธิ์ดำ
TAG : กระทรวงแรงงานลูกจ้างลาป่วยลาป่วย
http://www.labour.go.th/th%20/index.php?option=com_content&view=article&id=59&Itemid=93เคลียร์แล้ว ป่วยไม่เกิน3วันไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ แพทยสภาเตือนหมอเขียนนอกเรื่อง
https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_535829
เป็นกระแสในโลกโซเชี่ยลเมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ไม่พอใจต่อข้อความในใบรับรองแพทย์ ระบุว่า “การกรรโชกใบรับรองแพทย์กรณีหยุดงานไม่เกิน 3 วันผิดกฎหมายแรงงาน เลว และเห็นแก่ตัว ทำให้เกิดปัญหาคนไข้ล้นโรงพยาบาลลิดรอนสิทธิคนไข้ คนไข้มีสิทธิหยุด 3 วันโดยไม่มีใบรับรองแพทย์” จนเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์
ล่าสุดนายอภิญญา สุจริตตานันท์ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กล่าวว่า ตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง ส่วนสิทธิการรับค่าจ้างขณะลาป่วยนั้นกำหนดให้ 1 ปีมีสิทธิได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน และกฎหมายยังกำหนดว่าหากลาป่วยตั้งแต่ 3 วันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้ หากลูกจ้างไม่อาจแสดงได้ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ ส่วนบางบริษัทกำหนดเงื่อนไขใช้สิทธิลาป่วย เช่น ลางาน 1 หรือ 2 วันต้องใช้ใบรับรองแพทย์มาประกอบนั้น เรื่องนี้ไม่สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองแรงงาน ลูกจ้างมีสิทธิปฏิเสธไม่ต้องแสดงใบรับรองแพทย์
ผมไปค้นมาให้แล้วhttp://www.tpa.or.th/tpanews/upload/mag_content/47/ContentFile788.pdf