ทุกฉุกเฉินหมายเลขเดียว บทเรียนจากต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา
ทุกฉุกเฉินหมายเลขเดียว
บทเรียนจากต่างประเทศ เพื่อการพัฒนา “เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร 1669
สายด่วน ปภ. (กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) โทร 1784
ยกรถทางด่วน โทร 1542
กองบังคับการตำรวจ จราจร โทร1197
ตำรวจทางหลวง โทร 1193
สายด่วน กรมทางหลวง โทร 1586
สายด่วน กทม. โทร 1555” นี่เป็นเพียงสายด่วนเพียงไม่กี่เบอร์ ของบางหน่วยงานที่ถูกหยิบยกขึ้นมา !!!
ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังมีสายด่วนอีกนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสายด่วนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายดับเพลิง การประปา โรงพยาบาล หรือแม้แต่สายด่วนสั่งอาหาร
ทำให้บางครั้งหลายคนเกิดความสับสน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจริง ก็ไม่รู้ว่าจะโทรเบอร์ไหน ที่จะช่วยชีวิตให้รอดและปลอดภัยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ตื่นตระหนก
ดังนั้นถึงเวลาหรือยัง!!! ที่ประเทศไทยจะบูรณาการเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและทำให้เกิดประสิทธิภาพขึ้นสักที
ซึ่งหลายๆ ครั้ง มีการประชุมหารือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องก็เห็นด้วยว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นและควรพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง แต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่แนวคิดดังกล่าวจะกลายเป็นจริงสักที.....
ดังนั้นวันนี้จึงขอแนะนำตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีหมายเลขฉุกเฉินสำคัญเพียงหมายเลขเดียว สามารถแจ้งเหตุได้ทุกกรณี อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นประโยชน์ของการพัฒนาก้าวสำคัญของประเทศไทย !!!
นี่เป็นเพียงสายด่วนเพียงไม่กี่เบอร์ ของบางหน่วยงานที่ถูกหยิบยกขึ้นมา !!!
ซึ่งในปัจจุบันประเทศไทยยังมีสายด่วนอีกนับไม่ถ้วน ไม่ว่าจะเป็นสายด่วนแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายดับเพลิง การประปา โรงพยาบาล หรือแม้แต่สายด่วนสั่งอาหาร
ทำให้บางครั้งหลายคนเกิดความสับสน และเมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นจริง ก็ไม่รู้ว่าจะโทรเบอร์ไหน ที่จะช่วยชีวิตให้รอดและปลอดภัยได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ตื่นตระหนก
ดังนั้นถึงเวลาหรือยัง!!! ที่ประเทศไทยจะบูรณาการเรื่องนี้ให้เกิดขึ้นอย่างจริงจังและทำให้เกิดประสิทธิภาพขึ้นสักที
ซึ่งหลายๆ ครั้ง มีการประชุมหารือระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องก็เห็นด้วยว่าเรื่องนี้มีความจำเป็นและควรพัฒนาให้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง แต่ก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่แนวคิดดังกล่าวจะกลายเป็นจริงสักที.....
ดังนั้นวันนี้จึงขอแนะนำตัวอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่มีหมายเลขฉุกเฉินสำคัญเพียงหมายเลขเดียว สามารถแจ้งเหตุได้ทุกกรณี อย่างประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อเป็นประโยชน์ของการพัฒนาก้าวสำคัญของประเทศไทย !!!
สายด่วน 911 ในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เมื่อเอ่ยถึงหมายเลขนี้ขึ้นมา เชื่อว่าหลายคนคงรู้สึกคุ้นเคยเป็นอย่างดี โดยสายด่วนดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนซึ่งได้รับความเดือดร้อนหรือประสบปัญหาสามารถโทรเข้ามาเพื่อแจ้งขอความช่วยเหลือต่อเจ้าหน้าที่ได้ตลอดเวลา
สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีของโทรศัพท์ในระยะเริ่มแรก ต้นกำเนิดของหมายเลขฉุกเฉินมาจากการพัฒนาระบบหมายเลขฉุกเฉินในลอนดอน ประเทศอังกฤษ ราวปี ค.ศ. 1937 โดยใช้หมายเลข 999 เป็นหมายเลขสำหรับแจ้งเหตุฉุกเฉิน อย่างไรก็ดีเมื่อเวลาผ่านไป ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้หมายเลขนี้ คือ การกดปุ่มหมายเลขซ้ำกันทำให้เสี่ยงต่อการกดออกโดยไม่ตั้งใจ ส่งผลต่อการรบกวนการทำงาน
ในประเทศแคนาดา ในปี ค.ศ. 1959 ช่วงที่นาย Stephen Juba นายกเทศมนตรีของเมือง Winnipeg ในขณะนั้นเป็นผู้นาหมายเลขฉุกเฉินเข้ามาใช้ในแคนาดาเป็นครั้งแรก ส่วนประเทศสหรัฐอเมริกาได้เริ่มใช้หมายเลขฉุกเฉิน 911 ในอีกเก้าปีต่อมา
แต่หมายเลขดังกล่าวยังไม่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย จนเมื่อพัฒนาเป็นหมายเลขฉุกเฉิน 911
หมายเลขฉุกเฉิน 911 เป็นหมายเลขที่ใช้สำหรับให้ประชาชนโทรแจ้งเหตุฉุกเฉิน ได้ 3 กรณี ได้แก่
โทรแจ้งเจ้าหน้าที่ตารวจ (police) โทรเรียกรถพยาบาล (ambulance services/medical) และโทรเรียกพนักงานดับเพลิง (fire departments) หลักการการทำงานของหมายเลข 911 ในระยะเริ่มแรก คือ เมื่อประชาชนกดหมายเลขดังกล่าวแล้ว พนักงานรับโทรศัพท์จะถามหมายเลขปลายทางที่ผู้โทรเข้ามาต้องการติดต่อเพื่อที่จะโอนสายไปยังเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุฉุกเฉินโดยอาศัยแผงสายโทรศัพท์ (switchboard) เป็นอุปกรณ์ในการเชื่อมต่อ ดังนั้นพนักงานรับโทรศัพท์จึงจำเป็นต้องทราบเบอร์ของคู่สนทนาทั้งสองฝ่าย ส่วนในท้องถิ่นที่มีขนาดเล็ก พนักงานรับโทรศัพท์ยิ่งจำเป็นต้องทราบหมายเลขของสถานพยาบาลท้องถิ่น สถานพยาบาลสัตว์ หรือเจ้าหน้าที่กฎหมาย ที่สามารถให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนในยามฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที
นอกจากนี้ การใช้หมายเลข 911 จะเป็นที่ทราบกันโดยทั่วไปว่า ห้ามมีการกดหมายเลขดังกล่าวเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่มิใช่การแจ้งเหตุด่วนเหตุร้ายเด็ดขาด เพราะเท่ากับว่าจะทำให้พนักงานรับแจ้งเหตุฉุกเฉินเสียเวลากับการรับสายที่โทรก่อกวนนั้น และอาจเป็นสาเหตุให้บุคคลอื่นไม่ได้รับความช่วยเหลือจากพนักงานรับแจ้งเหตฉุกเฉินได้ทันเวลา เนื่องจากหลักการใช้หมายเลข 911 หากมีบุคคลใดวางสายไปก่อนที่จะได้สนทนากับพนักงานรับแจ้งเหตุฉุกเฉินแล้ว พนักงานเหล่านี้จะโทรกลับไปยังหมายเลขที่เรียกเข้ามาในเวลาถัดมา และหากโทรกลับไปแล้วแต่หมายเลขดังกล่าวไม่ว่าง พนักงานรับแจ้งเหตุฉุกเฉินก็จะติดต่อไปยังเจ้าหน้าที่ตารวจเพื่อให้ตรวจสอบข้อมูลของหมายเลขดังกล่าวอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะทาให้เสียเวลาแก่การปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานรับแจ้งเหตุฉุกเฉินเป็นอย่างมาก
จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแคนาดาได้ใช้
หมายเลขฉุกเฉิน ดังกล่าวมาเป็น ระยะเวลานานหลายศตวรรษ และได้รับความนิยมกันอย่างแพร่ หลายและการทำงานของระบบฉุกเฉินหมายเลขเดียวนั้นก็ได้รับการพัฒนาระบบเพื่อให้ช่วยเหลือประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
สายด่วนฉุกเฉินในยุโรป สายด่วน 112 สำหรับในยุโรปนั้นในอดีต ก็มีหมายเลขโทร.ฉุกเฉินที่แตกต่างกัน เช่น ในอังกฤษเมื่อก่อนใช้สายด่วน 999 แต่เมื่อรวมกันเป็นสหภาพยุโรป แต่ละประเทศก็เปลี่ยนมาใช้หมายเลขเดียวกัน คือ 112 ตั้งแต่ปี ค.ศ.1991 เพื่อให้จดจำง่าย และสะดวกสำหรับประชาชนในสหภาพยุโรปที่ไม่ต้องมาจำหมายเลขที่แตกต่างของแต่ละประเทศ ทุกประเทศก็ได้บริหารจัดการภายในให้ไม่ว่าจะโทรศัพท์มาด้วยหมายเลขเดิมหรือ 112 ซึ่งเป็นหมายเลขใหม่ ก็จะเข้ามาที่ระบบ 112เหมือนกัน และสามารถแจ้งเหตุได้ทั้งสามกรณีคือ ขอความช่วยเหลือจากตำรวจ ดับเพลิงและรถพยาบาล
สายด่วนฉุกเฉินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่างก็ใช้ตัวเลข 3 ตัวเป็นหมายเลขสายด่วนฉุกเฉิน เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและการแจ้งเหตุ อย่างเช่นประเทศสิงคโปร์ ใช้
995 เวียดนาม ใช้
115 อินโดนีเซีย ใช้
119 ฟิลิปปินส์
117 ส่วนประเทศบรูไน มาเลเซีย พม่า กัมพูชา ลาว ล้วนใช้
191 ซึ่งนี่คือบทเรียนในต่างประเทศ สู่การพัฒนาหมายเลขฉุกเฉิน ที่เราทุกคนหวังให้เกิดขึ้นในประเทศไทย และในอนาคตเราก็หวังว่าการรวมตัวของอาเซียนจะทำให้มีการบูรณาการใช้หมายเลขฉุกเฉินให้เหมือนกันด้วยเหมือนกับการพัฒนาการในประเทศแถบยุโรป!!!!!
ที่มา...ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ฉุกเฉินไทย