ข้ า พ ร ะ พุ ท ธ เ จ้ า    ~    ก ลุ่ ม เ ว็ บ จี พี เ อ ส เ ที่ ย ว ไ ท ย ด อ ท ค อ ม   (กลุ่มเว็บลูกหลานชาวพิจิตร)

fillgoods.co ระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ theterraceview-khaokho เว็บทรีโอแมส Welcome to JustUsers.net
วิทยาลัยเทคโนโลยีชื่นชม ไทย-เยอรมัน สระบุรี แนชเชอรัล รีสอร์ต (Nat's Resort) พิจิตร เม็ดบัวอบกรอบ มาย ฟีเกอ มีจําหน่ายที่ supermarket & 7-Eleven ทุกสาขา (10/12/60) เว็บ justusers.net
ลิ้ ง ค์ ก า ร พ นั น ..!!     แ บ น เ น อ ร์ ก า ร พ นั น ..!!     ไ ม่ ต้ อ ง พ ย า ย า ม ติ ด ต่ อ ม า     ไ ม่ ต้ อ น รั บ ..??

....:::: ::::....         แล้งน้ำ, น้ำท่วม, ลดโลกร้อน เพื่อแก้ปัญหาในระยะยาวในเรื่องดังกล่าว ทางเว็บขอร่วมรณรงค์ให้พี่น้องช่วยกันปลูกป่าทั่วแผ่นดินเพื่อแก้ปัญหาระยะยาวตามพระราชดำริของพ่อ เช่น ท่านที่อยู่ต้นน้ำตามภูเขาที่ลาดชัน หรือตามท้องไร่ท้องนาหัวคันนา ปลูกเท่าที่ทำได้ ทำตอนนี้ลูกหลานเราจะได้ไม่เดือดร้อน ...             คำกล่าวของลุงตู่......... " ท่าน..ไม่ชอบผมไม่เป็นไร แต่ท่านไม่ชอบประเทศของท่านไม่ควร อันศึกนอกศึกไกลผมไม่ห่วง แต่หวั่นทรวงศึกไกล้ไล่ข่มเหง หากคนไทยหันมาฆ่ากันเอง เราจะร้องเพลงชาติไทย ให้ใครฟัง..??!! "             เว็บจีพีเอสเที่ยวไทยดอทคอม     "เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS"       ....:::: ::::....

  สังคมแห่งการแบ่งปันนี้จะไม่มีสิ่งที่เพื่อนต้องการ    เมื่อเพื่อนๆ มาแวะเยี่ยมแล้วไม่ฝากสิ่งใดไว้..!!     กลุ่มเว็บนี้..   ดำรงไว้ซึ่ง คุณธรรม จริยธรรม ศีลธรรม จรรยาบรรณ ไม่เอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ ไม่เห็นแก่ตัว ไม่ตักตวงผลประโยชน์เข้าตน..  


ผู้เขียน หัวข้อ: เกี่ยวกับ "มูลนิธิโครงการหลวง"  (อ่าน 16330 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก)

  • ผู้ใหญ่บ้าน..น๊ะจ๊ะ
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 60
  • -จึงได้รับ: 33
  • กระทู้: 5993
  • กำลังใจ : +266/-0
  • Tel/Line 0818462316 (วทพ.24, HS6LPZ)
  • กลุ่มพิเศษ.. กลุ่มผู้ดูแลเว็บ
    • http://www.gpsteawthai.com
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
เกี่ยวกับ "มูลนิธิโครงการหลวง"
« เมื่อ: 21 กุมภาพันธ์ 2557, เวลา 18:28:22 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                                 
เกี่ยวกับ "มูลนิธิโครงการหลวง"


จากผลสำเร็จของโครงการหลวงในปัจจุบัน ทำให้ผลงานของมูลนิธิโครงการหลวงเป็นที่รู้จักแพร่หลายออกไปทั่วโลก  ทำให้เกิดการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆของโครงการหลวงตามมา นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างประเทศ เริ่มหลั่งไหลไปเที่ยวในพื้นที่โครงการหลวงกันมากขึ้น


การท่องเที่ยวในพื้นที่ศูนย์พัฒนาและสถานีวิจัยโครงการหลวง สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ นักท่องเที่ยวจะได้เห็นงานทางด้านส่งเสริมการเกษตรที่สูง ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงวางรากฐานเอาไว้จนประสบความสำเร็จอย่างงดงามในปัจจุบัน ได้เรียนรู้และเห็นการทำงานวิจัยของนักวิจัยและเจ้าหน้าที่โครงการหลวงในการ ค้นคว้า พันธุ์ผักและผลไม้ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกในพื้นที่ ได้เห็นและเรียนรู้การพัฒนาส่งเสริมของชาวเขาทำการเพาะปลูกพืชใหม่ๆ ที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวของพวกเขา ตลอดจนได้เห็นแปลงปลูกพืชผักและผลไม้เมืองหนาวนับร้อยชนิด รวมถึงไม้ดอกที่สวยงามหลากพันธุ์หลากสีสัน

นอกจากนั้น นักท่องเที่ยวยังจะได้สัมผัสกับธรรมชาติที่สวยงามของป่าไม้ ป่าต้นน้ำลำธารที่ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้ ทั้งป่าธรรมชาติ และป่าที่ได้รับการฟื้นฟูสภาพ ที่ปลูกขึ้นมาใหม่ อย่างอุดมสมบูรณ์ จนปัจจุบันไม่เห็นร่องรอยของป่าเสื่อมโทรมอีกต่อไป


ขณะเดียวกันกับศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุกแห่ง ได้ส่งเสริมให้ประชาชนคนในพื้นที่รักษาขนบธรรมเนียมและวัฒนธรรมดั้งเดิมของตน เองไว้ไม่ให้สูญหาย สนับสนุนให้ชาวบ้านมีส่วนร่วมในการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผลักดันและสนับสนุนให้เกิดศูนย์วัฒนธรรมของชนเผ่า ซึ่งจะเป็นสถานที่จัดแสดงวัฒนธรรมต่างๆ ตลอดจนขายของที่ระลึกที่มาจากผลผลิตทางการเกษตรหรือหัตถกรรมที่มาจากในหมู่ บ้าน อีกทั้งยังฝึกฝนให้เด็กๆในพื้นที่เป็นมัคคุเทศก์น้อย เพื่อพานักท่องเที่ยวเยี่ยมชมหมู่บ้านของตนเองหรือสถานที่ทางธรรมชาติรอบๆ หมู่บ้าน นักท่องเที่ยวจะได้เรียนรู้วิถีชีวิตและวัฒนธรรมที่สวยงามของชนเผ่าต่างๆ ที่อยู่พื้นที่ของโครงการหลวงซึ่งมีมากถึง 15 กลุ่มชาติพันธุ์ 15 วัฒนธรรม ซึ่งน่าสนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างมาก


ปัจจุบันการท่องเที่ยวในโครงการหลวง สามารถเดินทางได้สะดวกมากขึ้นแม้ว่าบางเส้นทางยังไม่ค่อยจะสะดวกมากนักก็ตาม แต่ก็ทำให้การท่องเที่ยวมีรสชาติมากขึ้น หลายๆ คนเลือกที่จะเดินทางในช่วงหน้าหนาว เพราะชอบความหนาวเย็น ท้องฟ้าใส ดอกไม้สวย หลายคนก็ชอบเดินทางในหน้าฝน เพราะชอบความชุ่มฉ่ำของสายฝน ความเขียวชะอุ่มของทุ่งนา ป่าไม้ และความสวยงามของลำธาร น้ำตก และบางคนที่ชอบเที่ยวในหน้าร้อน เพราะอากาศกำลังสบาย ไม่หนาวเกินไป ชอบสีสันสดสวยของดอกไม้ป่าหลายชนิดที่แข่งกันกันออกดอกบานสะพรั่ง การเดินทางก็ไม่ยากลำบากนัก

แต่ถึงอย่างไร โครงการหลวงทุกแห่งก็สามารถเดินทางท่องเที่ยวกันได้ตลอดทั้งปี แต่ละฤดูก็มีเสน่ห์และความสวยงามแตกต่างกันออกไป เช่น ในช่วงหน้าหนาว ดอยต่างๆ จะสดใสไปด้วยไม้ดอกที่เบ่งบาน แข่งขันกันชูช่อสวย ส่วนในหน้าร้อนไม้ผลขนาดใหญ่ก็จะเริ่มออกดอกบานสะพรั่งแต้มสีสันทั้งหุบเขา สร้างความประทับใจให้กับผู้พบเห็นได้อย่างไม่รู้ลืม แต่ถ้าเป็นหน้าฝน ผลไม้หลายชนิดก็เริ่มผลิลูกออกผล ลูกพลับสีส้มสดแข่งกันออกสลับกับลูกสาลี่สีเหลืองอ่อนเต็มต้น ท่ามกลางสีเขียวชะอุ่มของดงดอย และความฉ่ำเย็นของสายฝน รวมถึงพืชผักเมืองหนาวสดๆ ที่มีให้ชมและให้ชิมกันตลอดทั้งปี


การเดินทางท่องเที่ยวในโครงการหลวงสามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนตัว หรือรถประจำทางแล้วต่อกันด้วยบริการรถสองแถว แต่หลายแห่งก็ต้องเดินทางด้วยรถส่วนตัวโดยเฉพาะ และหลายแห่งก็ต้องใช้รถขับเคลื่อนสี่ล้อเท่านั้น แต่ไม่ว่าจะเดินทางไปด้วยวิธีไหน สิ่งที่จะได้รับเหมือนๆกันก็คือ ความประทับใจในความงามของภูมิทัศน์ ภูมิอากาศที่เย็นสบายจนถึงหนาวเหน็บ วิถีชีวิตที่สงบสุขของชาติพันธุ์ต่างๆ ในพื้นที่ รวมถึงความอร่อยจากการได้ลิ้มรสอาหารพื้นเมืองและพืชผักผลไม้ที่สด สะอาด อร่อย และปลอดสารพิษในโครงการหลวงแต่ละแห่ง

สำหรับท่านที่นิยมขับรถด้วยตัวเอง คงจะต้องเป็นคนขับรถเก่งพอสมควร มีประสบการณ์การขับรถขึ้นเขาสูงชันและคดเคี้ยว เพราะศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเกือบทั้งหมด อยู่บนเทือกเขาที่สูงเกิน 500 – 1,500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลทั้งสิ้น และถ้าเป็นหน้าฝน รถที่ขับไป ก็ควรเป็นรถขับเคลื่อนสี่ล้อ จะสะดวกและปลอดภัยที่สุด

โครงการหลวงทั้ง 38 แห่ง กระจัดกระจายอยู๋ในเฉพาะภาคเหนือตอนบน บริเวณจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำพูน และพะเยา โดยอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่มากที่สุด รองลงมาคือจังหวัดเชียงราย เส้นทางที่อยากแนะนำมีอยู่ 6 เส้นทางด้วยกัน โดยจะจัด “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง” ที่อยู่บนเส้นทางเดียวกันหรือใกล้เคียงกันเอาไว้เป็นกลุ่ม ที่จะสามารถเดินทางเป็นวงกลม หรือเส้นทางไปกลับ หรือเป็นเส้นทางผ่านไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆได้

***********************************************************

ความเป็นมา

1. เริ่มต้น

เมื่อปีพุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรชีวิตของชาวเขาที่บ้านดอยปุยใกล้พระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศน์ จึงทรงทราบว่าชาวเขาปลูกฝิ่นแต่ยากจน รับสั่งถามว่านอกจากฝิ่นขายแล้ว เขามีรายได้จากพืชชนิดอื่นอีกหรือเปล่า ทำให้ทรงทราบว่า นอกจากฝิ่นแล้ว เขายังเก็บท้อพื้นเมืองขาย แม้ว่าลูกจะเล็กก็ตาม แต่ก็ยังได้เงินเท่าๆกัน โดยที่ทรงทราบว่า สถานีทดลองดอยปุย ซึ่งเป็นสถานีทดลองไม้ผลเมืองหนาวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้นำกิ่งพันธุ์ท้อลูกใหญ่มาต่อกับต้นตอท้อพื้นเมืองได้  ให้ค้นคว้าหาพันธุ์ท้อที่เหมาะสมสำหรับบ้านเรา เพื่อให้ได้ท้อผลใหญ่ หวานฉ่ำ ที่ทำรายได้สูงไม่แพ้ฝิ่น โดยพระราชทานเงินจำนวน 200,000 บาท ให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำหรับจัดหาที่ดินดำเนินงานวิจัยไม้ผลเมืองหนาวเพิ่มเติมจากสถานีวิจัยดอยปุยซึ่งมีพื้นที่คับแคบ ซึ่งเรียกพื้นที่นี้ว่า สวนสองแสน

ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งโครงการหลวงขึ้น เมื่อ พ.ศ. 2512 เริ่มต้นเป็นโครงการส่วนพระองค์ โดยมีหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในตำแหน่งผู้อำนวยการ มีชื่อเรียกในระยะแรกว่า “โครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา” โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ รวมกับเงินที่มีผู้ทูลเกล้าฯถวาย สำหรับเป็นงบประมาณดำเนินงานต่างๆ และพระราชทานมีเป้าหมายสำหรับการดำเนินงาน ดังนี้

     1. ช่วยชาวเขาเพื่อมนุษยธรรม
     2. ช่วยชาวไทยโดยลดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ คือ ป่าไม้และต้นน้ำลำธาร
     3. กำจัดการปลูกฝิ่น
     4. รักษาดิน และใช้พื้นที่ให้ถูกต้อง คือ ให้ป่าอยู่ส่วนที่เป็นป่า และทำไร่ ทำสวน ในส่วนที่ควรเพาะปลูก อย่าสองส่วนนี้รุกล้ำซึ่งกันและกัน

การดำเนินงานต่างๆ ของโครงการหลวง มีอาสาสมัครจากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการด้านต่างๆ ช่วยดำเนินงานถวาย ทำให้การปฏิบัติงานก้าวหน้าอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลงานวิจัยการปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ เกษตรกรสามารถนำไปปลูกทดแทนฝิ่นได้ผลดี พ.ศ. 2537 โครงการควบคุมยาเสพติดของสหประชาชาติ (UNDCP) ได้ทูลเกล้าฯถวายเหรียญทองเพื่อสดุดีพระเกียรติคุณในการแก้ปัญหายาเสพติด โดยส่งเสริมให้ชาวเขาเลิกปลูกฝิ่น แต่ปลูกพืชอื่นแทน จึงกล่าวได้ว่าโครงการหลวงเป็นโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นแห่งแรกของโลก

เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำรัสในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่องช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขา ความว่า “เรื่องที่จะช่วยชาวเขาและโครงการชาวเขานั้น มีประโยชน์โดยตรงกับชาวเขา เพื่อจะส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขามีความเป็นอยู่ดีขึ้น สามารถที่จะเพาะปลูกสิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นรายได้ของเขาเอง ที่มีโครงการนี้ จุดประสงค์อย่างหนึ่งก็คือ มนุษยธรรม หมายถึง ให้ผู้ที่อยู่ในถิ่นทุรกันดาร สามารถที่จะมีความรู้และพยุงตัว มีความเจริญก้าวหน้าได้  อีกอย่างหนึ่งก็เป็นเรื่องช่วยในทางที่ทุกคนเห็นว่าควรจะช่วยเพราะเป็นปัญหาใหญ่คือ ปัญหาเรื่องยาเสพติด ถ้าสามารถช่วยชาวเขาปลูกพืชที่เป็นประโยชน์บ้างเขาจะเลิกปลูกยาเสพติดคือ ฝิ่น ทำให้นโยบายการระงับการปราบปรามการปลูกฝิ่นและการค้าฝิ่น ได้ผลดี อันนี้ก็เป็นผลอย่างหนึ่ง ผลอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมากก็คือ ชาวเขา ตามที่รู้เป็นผู้ที่ทำการเพาะปลูก โดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ถ้าพวกเราทุกคนไปช่วยชาวเขา ก็เท่ากับช่วยบ้านเมืองให้มีความดี ความอยู่ดีกินดี และปลอดภัยได้อีกทั่วประเทศ เพราะถ้าสามารถทำโครงการนี้ได้สำเร็จ ให้เขาอยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง สามารถที่จะมีความอยู่ดีกินดีพอสมควร และสนับสนุนนโยบายที่จะรักษาป่าไม้ รักษาดินให้เป็นประโยชน์ต่อไป ประโยชน์อันนี้จะยั่งยืนมาก”

กล่าวได้ว่า ในระยะเริ่มต้นไม่มีใครทราบว่าควรปลูกชนิดใดบนดอยซึ่งมีอากาศหนาวเย็น โครงการหลวงจึงเริ่มดำเนินงานวิจัยเพื่อทดลองการปลูกไม้ผลเมืองหนาวที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย โดย พ.ศ. 2512 ได้ตั้งสถานีเกษตรหลวงอ่างขางเพื่อเป็นสถานีทอดลองการปลูกพืชเมืองหนาวชนิดต่างๆ ในบริเวณหุบเขาสูงของดอยอ่างขาง ตำบลม่อนปิน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอ่างขางเป็นพื้นที่อยู่ตอนเหนือเกือบสุดของประเทศไทย บริเวณสถานีเป็นหุบเขายาวๆล้อมรอบด้วยภูเขาทุกด้าน ด้านเหนือติดประเทศพม่า  บริเวณดังกล่าวมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,400 เมตร มีอากาศหนาวเย็น อ่างขางในเวลานั้นเป็นทุ่งหญ้าคา ช่วงฤดูหนาวมีฝิ่นปลูกอยู่ทั่วไป

ต่อมากระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และมิตรประเทศต่าง ๆ ได้ทูลเกล้าถวายพันธุ์พืชเมืองหนาว และสนับสนุนงบประมาณดำเนินการวิจัยข้างต้น สำหรับด้านการพัฒนาชาวเขานั้น ในระยะแรกไม่มีเจ้าหน้าที่ไปอยู่ประจำในหมู่บ้านชาวเขา แต่มีคณะทำงานซึ่งเป็นอาสาสมัครไปเยี่ยมเยียนชาวเขาในหมู่บ้านต่างๆ เป็นประจำทุกสัปดาห์ เพื่อให้คำแนะนำและสาธิตการปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ เรียกว่าหมู่บ้านดังกล่าวว่าหมู่บ้านเยี่ยมเยียน ต่อมาทรงมีพระราชดำริและพระราชทานพันธุ์พืชรวมทั้งสัตว์เลี้ยงชนิดต่างๆ เพื่อให้ชาวเขานำไปประกอบอาชีพ ได้แก่ แอปเปิล ท้อ พลับ ถั่วแดง วัวพันธุ์บราห์มัน ห่าน และแกะ เป็นต้น ซึ่งเป็นการให้ชาวเขานำไปทดสอบเพาะปลูกและเมื่อได้ผลก็จะขอคืนเพื่อนำไปให้ผู้อื่นนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป อาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆ ที่รับผิดชอบหมู่บ้านเยี่ยมเยียนในขณะนั้นประกอบด้วย

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์         รับผิดชอบ บ้านช่างเคี่ยน แม่สาใหม่ อ่างขาง แกน้อย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่               รับผิดชอบ บ้านปางป่าคา ห้วยผักไผ่ ปู่หมื่นใน บ้านใหม่ร่มเย็น ถ้ำเวียงแก บ้านสวด จอมหด
สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้      รับผิดชอบ บ้านวังดิน(ศูนย์ฯหมอกจ๋ามในปัจจุบัน) ผาหมี สะโง๊ะ (มหาวิทยาลัยแม่โจ้)    เมืองงาม
กรมวิชาการเกษตร     รับผิดชอบส่งเสริมกาแฟอราบิก้า (ร่วมกับกรมประชาสงเคราะห์ซึ่งมีศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาบ้านแม่ลาน้อย ) ห้วยฮ่อม บ้านดง ป่าแป๋ รากไม้

2. โครงการ UN/Thai Program for Drug Abuse Control

พ.ศ. 2515 องค์การสหประชาชาติ ได้เห็นความสำคัญของการปลูกพืชทดแทนฝิ่น จึงให้การสนับสนุนการดำเนินงานในประเทศไทย โดยเริ่มโครงการ UN/Thai Program for Drug Abuse Control โดยมีหม่อมเจ้า ภีศเดช รัชนี ผู้อำนวยการโครงการหลวงพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา เป็นผู้อำนวยการโครงการอีกตำแหน่งหนึ่ง อาจนับเป็นการเริ่มต้นของหน่วยงาน Alternative Development Unit ของ UNODC ในปัจจุบัน โดยโครงการ UN/Thai Program for Drug Abuse Control  ซึ่งได้ให้การสนับสนุนงบประมาณและส่งเจ้าหน้าที่มาช่วยเหลือเป็นครั้งคราวแก่โครงการพระบรมราชานุเคราะห์ชาวเขา ซึ่งในตอนนั้นได้ส่งเสริมและพัฒนาชาวบ้านที่แม่โถ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

3. โครงการวิจัยและพัฒนาภายใต้การสนับสนุนของกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา

พ.ศ. 2516 กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ( USDA/ARS) ได้ให้การสนับสนุนทุนแก่โครงการหลวงในการวิจัยการเกษตรบนที่สูงปีละประมาณ 20 ล้านบาท ทำให้มีองค์ความรู้ด้านการเกษตรมากขึ้น โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยเพื่อหาชนิดและพันธุ์พืชที่เหมาะสมต่อการปลูกบนพื้นที่สูง การศึกษาวิธีการปลูกและการปฏิบัติรักษา รวมทั้งงานวิจัยด้านอื่นๆ เช่น ไม้ผลเมืองหนาว การเลี้ยงครั่ง กาแฟอราบิก้า ชา ไม้ตัดดอก   สตรอเบอรี่ ระบบการปลูกพืช การเพาะเห็ดหอม ไหมป่า พืชย้อมสี การอนุรักษ์ดิน การผลิตหัวพันธุ์มันฝรั่ง การผสมพันธุ์และการผลิตหอมหัวใหญ่ พืชผักเมืองหนาว ธัญพืช สมุนไพร เฟิร์นแห้ง เก๊กฮวย พืชน้ำมันเพื่อการอุตสาหกรรม การใช้น้ำอย่างประหยัด การปรับปรุงและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไร่ การป้องกันและกำจัดศัตรูพืช และการควบคุมวัชพืช เป็นต้น ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2522 โครงการหลวงได้พิจารณาเห็นว่าผลงานวิจัยต่างๆสามารถนำไปสู่การใช้ประโยชน์ของชาวเขาได้ กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาจึงให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนาชุมชนชาวเขาทดแทนการปลูกฝิ่นในพื้นที่โครงการหลวง รวม 5 แห่ง

ส่วนหนึ่งของผลงานวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาอาชีพของชาวเขา

       ถั่วแดงหลวง

พ.ศ. 2514 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้สั่งเมล็ดพันธุ์ถั่วแดงจากบริษัท Dessert Seed สหรัฐอเมริกา จำนวน 2 ตัน (พันธุ์ darkled redcoat และ maintop) พร้อมทั้งถั่วไลมา (lima) และถั่วปินโต (pinto) โดยได้ส่งไปทดสอบตามดอยต่างๆ ปรากฏว่าได้ผลดีที่แม่โถ บ้านวังดิน ผาหมี สะโมง และดอยงาม และเป็นพืชสำคัญที่โครงการต่างๆ นิยมนำไปเป็นพืชหลักในการส่งเสริมให้เกษตรกรชาวเขาปลูกทดแทนฝิ่น โดยเฉพาะพื้นที่ห่างไกลและทุรกันดาร เนื่องจากปลูกง่ายและขนส่งผลผลิตสะดวก

       สตรอเบอรี่

พ.ศ. 2515 โครงการหลวงได้นำพันธุ์สตรอเบอรี่จากต่างประเทศมาทดลองปลูกประมาณ 40 พันธุ์ คัดไว้ได้ 2 พันธุ์ นำไปให้ชาวบ้านทดลองปลูก ปรากฏว่า มีพันธุ์สตรอเบอรี่ที่เกษตรกรนิยม 1 พันธุ์ คือ พันธุ์พระราชทานเบอร์ 16 จึงนำไปส่งเสริมให้แก่ราษฎรพื้นราบของเมืองเชียงใหม่ปลูกจำหน่ายสู่ตลาด ซึ่งเป็นที่นิยมของคนไทยทั่วไป ต่อมาได้มีการปรับปรุงพันธุ์สตรอเบอรีเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาพ แวดล้อมของประเทศไทย รวมถึงการศึกษาการปฏิบัติรักษาที่ดีขึ้น ปัจจุบันเกษตรกรในโครงการหลวงได้ปลูกสรอเบอรีพันธุ์พระราชทาน 80 ซึ่งเป็นที่นิยมของผู้บริโภค

       กาแฟอราบิก้า

พ.ศ. 2515 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้มอบให้นักวิจัยศึกษาการปลูกกาแฟอราบิก้าในพื้นที่โครงการหลวงซึ่งเป็นพื้นที่สูง พบว่าสามารถเจริญเติบโตได้ดี จึงได้มีการศึกษาพันธุ์กาแฟอาราบิกาต้านทานโรคราสนิม รวมถึงการศึกษาด้านการปฏิบัติรักษาการปลูกกาแฟอราบิก้าด้านต่างๆ โดยทุนการวิจัยจาก USDA/ARS
พ.ศ. 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรต้นกาแฟอราบิก้าที่ปลูกโดยเกษตรชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยงบ้านหนองหล่ม ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง เป็นครั้งแรก นับว่าเป็นขวัญและกำลังใจต่องานวิจัยและพัฒนาการปลูกกาแฟอราบิก้าของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง ส่งให้กาแฟอราบิก้าเป็นพืชสำคัญของเกษตรบนพื้นที่สูงในปัจจุบัน

       พืชผักเมืองหนาว

พืชผักเป็นพืชที่มีระยะเวลาปลูกสั้น สามารถนำไปเป็นอาหารสำหรับริโภคและจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ในขณะเดียวกันการปลูกผักใช้พื้นที่ปลูกเพียงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกข้าวโพดหรือพืชไร่อื่นๆ ก่อน พ.ศ. 2524 ไม่เกษตรกรใดปลูกผักเมืองหนาวในประเทศไทย จากผลการวิจัยพืชผักที่ได้รับการสนับสนุนจาก USDA/ARS รวมทั้งการสนับสนุนของไต้หวัน ในฤดูปลูกปี พ.ศ. 2524 โครงการหลวงจึงได้เริ่มส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกพืชผักเมืองหนาวที่โครงการหลวงแม่แฮ เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่น พืชผักชนิดต่างๆ ได้แก่ ผักกาดหอมห่อ ผักกาดหางหงส์ และแครอท ปรากฏว่าปลูกได้ผลดี ทำให้มีผู้นิยมปลูกผักเพิ่มขึ้นตามลำดับ

       ไม้ผลเมืองหนาว

ไม้ผลเมืองหนาว เป็นพืชที่โครงการหลวงให้ความสำคัญมาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เนื่องจากเป็นพืชยืนต้น ให้ผลผลิตที่มีคุณค่าทางอาหารสูง มีเรือนยอดปกคลุมพื้นดินได้ดีเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไป ในระยะแรกของโครงการหลวง เริ่มจากการปรับปรุงการปลูกท้อพื้นเมืองที่ให้ผลเล็ก รวมทั้งการวิจัยและส่งเสริมไม้ผลเขตหนาวชนิดต่างๆ โดยได้รับการสนับสนุนจากสาธารณรัฐจีนไต้หวัน และทุนการวิจัยจาก USDA/ARS ทำให้ได้ชนิดและพันธุ์ไม้ผลเขตหนาว ไม้ผลกึ่งหนาว และไม้ผลขนาดเล็กชนิดต่างๆ ที่เหมาะสมกับการปลูกบนพื้นที่สูงของประเทศไทยหลายชนิด เช่น พี้ช สาลี พลับ พลัม บ๊วย อโวกาโด กีวีฟรุต เสาวรส ฯลฯ ไม้ผลเหล่านี้สมารถสร้างรายได้ที่มั่นคงให้แก่เกษตรกร ทำให้เกษตรกรชาวเขาเลิกการทำไร่เลื่อนลอยและการปลูกฝิ่นหันมาประกอบอาชีพเป็นชาวสวนจำนวนมาก
ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงด้วยความร่วมมือของอาสาสมัครจากหน่ายงานต่างๆ สามารถผสมและคัดเลือกพันธุ์ไม้ผลเมืองหนาวหลายชนิดที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ เช่น พี้ช(ท้อ) สาลี และสตรอเบอรี เป็นต้น

       ไม้ตัดดอกและไม้ประดับ

โครงการหลวงได้ดำเนินงานวิจัยไม้ตัดดอก โดยได้รับการสนับสนุนจาก USDA/ARS  โดยนำไม้ตัดดอกชนิดต่างๆทดลองปลูก เช่น คาร์เนชัน เบญจมาศ แกลดิโอรัส ซิมบิเดียม ฯลฯ ในระยะแรกดำเนินงานวิจัยที่ห้วยทุ่งจ้อ ต่อมาเมื่อเริ่มต้นโครงการหลวงอินทนนท์ จึงย้ายงานวิจัยไม้ดอกไปที่โครงการหลวงอินทนนท์ และได้ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกไม้ตัดดอกเพื่อเป็นทางเลือกในการประกอบอาชีพได้มากขึ้น

4.  ความร่วมมือโครงการหลวงและไต้หวัน

ฤดูร้อน พ.ศ. 2513 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เสด็จไปยังสาธารณรัฐจีนไต้หวัน และสนพระทัยงานการปลูกพืชเมืองหนาวของฟาร์มฟูซูซานซึ่งเป็นหมู่บ้านบนภูเขา เป็นอย่างมาก ต่อมา เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2513 คณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกได้จัดส่งนายซุง ซิง หยุน รองผู้จัดการฟาร์ม ฟูซูซาน เดินทางมาประเทศไทยเพื่อศึกษาสภาพพื้นที่โครงการหลวง เป็นระยะเวลา 2 สัปดาห์ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือทางวิชาการระหว่างโครงการหลวงและไต้หวัน โดยคณะกรรมการส่งเสริมอาชีพทหารผ่านศึกจีนไต้หวัน(VARCR) ได้ให้การสนับสนุนโดยส่ง พันธุ์พืชชนิดต่างๆ ได้แก่ สาลี่ ท้อ บ๊วย พลัม พลับ วอลนัท เห็ดหอม เห็ดหูหนู  ตังกุย เก็กฮวย ดอกไม้จีน ไม้โตเร็ว และเมล็ดพันธุ์ผักชนิดต่างๆ พร้อมทั้งส่งผู้เชี่ยวชาญเดินทางมาปฏิบัติงานในโครงการหลวง จำนวน 2-3 นายทุกปี รวมทั้งสนับสนุนให้คณะอาจารย์ (อาสาสมัคร) และเจ้าหน้าที่โครงการหลวง ไปศึกษาดูงานและฝึกงานที่ฟาร์ม ฟู ซู ซาน และสถานีบนภูเขาของไต้หวัน

       หน่วยอารักขาพืช

โครงการหลวงได้ตั้งโครงการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช เมื่อ พ.ศ. 2525 ถือเป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญมากต่อการปลูกพืชชนิดต่างๆ ของเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่ในการวิจัยและพัฒนาวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่สูงของประเทศไทย รวมถึงการให้บริการความรู้และฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และเกษตรกรของโครงการหลวงให้ใช้วิธีการกำจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นหน่วยอารักขาพืช เพื่อให้ดำเนินงานลักษณะงานประจำมากขึ้น และเปลี่ยนเป็นศูนย์อารักขาพืช เมื่อ พ.ศ. 2544 เพื่อทำหน้าที่ในการตรวจและควบคุมการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชในพื้นที่โครงการหลวง โดยการให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่สนาม และผู้นำเกษตรกร เน้นใช้วิธีการจัดการแบบผสมผสาน ปัจจุบันทำหน้าที่ทั้งการวิจัยและพัฒนาการป้องกันกำจัดศัตรูพืช การถ่ายทอดความรู้ การผลิตชีวภัณฑ์ในการกำจัดศัตรูพืช และการควบคุมและตรวจสอบสารพิษตกค้างในผลผลิตตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ

       โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชดำริ จัดตั้งโรงงานผลิตอาหารสำเร็จรูป เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเสียเปรียบ และประสบปัญหาในการจำหน่ายผลิตผลทางเกษตรที่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลางซึ่งถูกกดราคาเป็นอย่างมาก

พ.ศ. 2515 โครงการหลวงตั้งโรงงานอาหารสำเร็จรูปแห่งแรกที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อแปรรูปผลผลิตการเกษตรที่มีมากขึ้น เริ่มจากการแปรรูปผลสตรอเบอรี่ของเกษตรกร เพื่อช่วยให้เกษตรกรขายผลผลิตได้ราคาสูงขึ้น ต่อมาตั้งโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่บ้านยาง อำเภอฝาง เพื่อแปรรูปผลไม้ และโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่แม่จัน จังหวัดเชียงราย เพื่อทำแป้งถั่วเหลือง รวมถึงการแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตชนิดต่างๆของเกษตรกร

5.  งานพัฒนาสังคม

กล่าวได้ว่า หน่วยงานต่างๆและอาสาสมัครได้ให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการหลวงมากมายหลายด้าน ทั้งตั้งแต่เริ่มต้นโครงการหลวงและในปัจจุบัน ทั้งในด้านของการพัฒนาสังคม การศึกษา และสาธารณสุข

กลุ่มประชาอาสา โดยการนำของ ศาสตราจารย์ นพ. เกษม วัฒนชัย กับกลุ่มแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์ นักศึกษา ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มประชาชน ออกปฏิบัติงานให้คำแนะนำด้านสุขอนามัยและการบริการทางสังคมต่างๆ โดยออกปฏิบัติงานครั้งแรกเมื่อ ธันวาคม พ.ศ. 2529 ที่บ้านนอแล อำเภอฝาง จังหวัด เชียงใหม่ และดำเนินการสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

       ธนาคารข้าว

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานข้าวเพื่อตั้งเป็นธนาคารข้าวที่บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นแห่งแรก เพราะชาวลั๊วะที่นั่นบางปีขาดแคลนข้าว ต้องยืมเงินซื้อโดยเสียดอกเบี้ยสูงมากจนไม่มีทางจะชำระหนี้ได้หมด ธนาคารข้าวที่ตั้งขึ้นนี้คิดดอกเบี้ยต่ำขนาดชาวบ้านสามารถใช้คืนได้ในฤดูเก็บเกี่ยวครั้งต่อไป หลักเกณฑ์ของธนาคารมีอยู่ว่า ชาวบ้านต้องช่วยกันสร้างยุ้งข้าวและรวมกลุ่มกันดูแลการจ่ายออกและทวงคืน มีธนาคารข้าวหลายแห่งที่สามารถสะสมข้าวได้จนเหลือใช้จึงทูลเกล้าฯ ถวายคืนเพื่อพระราชทานธนาคารอื่นต่อไป

       โรงเรียน

ในระยะแรกของโครงการหลวง เมื่อพบว่าที่ใดไม่มีโรงเรียน โครงการหลวงจะตั้งขึ้นก่อน ต่อมาเมื่อทางราชการมีความพร้อม ก็ได้มอบให้รับไปดูแลต่อไป
โครงการหลวงได้ตั้ง โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่สำหรับชุมชนชาวเขา เมื่อ พ.ศ. 2525 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนชาวเขาในพื้นที่โครงการหลวงรู้คุณค่าของหนังสือ โดยดำเนินงานร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่อมาขยายขอบเขตงานเปลี่ยนชื่อเป็น โครงการห้องสมุดเคลื่อนที่และส่งเสริมการศึกษา และปรับเปลี่ยนเป็น งานพัฒนาสังคมและการศึกษา ในปัจจุบัน

6. ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง

พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในพื้นที่ต่างๆ ทรงพบชาวเขาซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร มีสภาพยากจน และยากแก่การเข้าถึง จึงโปรดเกล้าฯ ให้พัฒนาหมู่บ้านชาวเขาในพื้นที่ทุรกันดารเหล่านั้น เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ลดการปลูกฝิ่น และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้หารือกับผู้บริหารของหน่วยราชการต่างๆ เพื่อขออาสาสมัครไปเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารโครงการ เรียกว่า ผู้ประสานงาน

อาสาสมัครจากหน่วยงานต่างๆในขณะนั้น ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรภาคเหนือ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมประชาสงเคราะห์ การดำเนินงานในปีแรกใช้จ่ายจากพระราชทรัพย์ที่พระราชทานให้ โดยเรียกชื่อในระยะนั้นว่า โครงการหลวง ได้แก่ โครงการหลวงแม่แฮ โครงการหลวงทุ่งหลวง โครงการหลวงแม่ปูนหลวง โครงการหลวงปางอุ๋ง และโครงการหลวงแม่ลาน้อย ตามลำดับ โดยโครงการหลวงแต่ละแห่งจะครอบคลุมพื้นที่ 4 – 9  หมู่บ้าน ต่อมา พ.ศ. 2522 กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA/ARS) ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณเพื่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาในพื้นที่ต่างๆ ทั้ง 5 แห่ง การพัฒนาของโครงการหลวงจึงเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจัง ต่อมาเมื่อการปฏิบัติงานมีขอบเขตกว้างขวาง ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และได้รับความการร่วมมือจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องต่างๆทั้งส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนต่างๆ จึงเรียกว่า ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง

7. มูลนิธิโครงการหลวง

พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โครงการหลวงจดทะเบียนเป็นมูลนิธิโครงการหลวง โดยพระราชทานเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิฯ เริ่มแรก 500,000 บาท เพื่อให้เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ถาวรมั่นคง สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีระบบงานที่แน่นอนรองรับ มีการบริหารงานภายในคล่องตัว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเกิดผลดียิ่งขึ้นในอนาคต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรงตำแหน่งนายกกิตติมศักดิ์ และหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงเป็นประธานมูลนิธิ โดยมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นเลขาธิการมูลนิธิ




อ้างจาก: ที่มาข้อมูล..
ด้วยความขอบคุณ...  เว็บโครงการหลวง  http://www.thairoyalprojecttour.com/?page_id=4
เป็นที่มาของ...  ข้อความทั้งหมด ภาพทั้งหมด เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด


ข  อ  เ  ป็  น  ข้  า  ร  อ  ง  บ  า  ท  ทุ  ก  ช  า  ติ  ไ  ป

พิจิตรบ้านเรา ดอทคอม   "เว็บบ้านเรา เพื่อคนบ้านเรา"
จีพีเอสเที่ยวไทย ดอทคอม  เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS
และอีกมากเว็บ ...!?

ออฟไลน์ ลุงเปี๊ยก ที-เน็ตเวิร์ค (อ.สากเหล็ก)

  • ผู้ใหญ่บ้าน..น๊ะจ๊ะ
  • Administrator
  • *
  • กดนิ้วโป้ง.! แทนคำขอบคุณ
  • -มอบให้: 60
  • -จึงได้รับ: 33
  • กระทู้: 5993
  • กำลังใจ : +266/-0
  • Tel/Line 0818462316 (วทพ.24, HS6LPZ)
  • กลุ่มพิเศษ.. กลุ่มผู้ดูแลเว็บ
    • http://www.gpsteawthai.com
    • <b>กลุ่มพิเศษ..</b>
  • สมาชิกลำดับที่: 1
Re: เกี่ยวกับ "มูลนิธิโครงการหลวง"
« ตอบ #1 เมื่อ: 17 มีนาคม 2557, เวลา 20:41:07 น. »
Share: โพสกระทู้นี้ลงใน Twitter ของคุณ  โพสกระทู้นี้ลงใน Facebook ของคุณ...                                 
:Big-QQ (43): ถ้ามีโอกาสได้ไปเยือน ดินแดนมหัศจรรย์ อ่างขาง ... ก่อนจะขึ้นไป อย่าลืมแวะชม พิพิธภัณฑ์โรงงานหลวงที่ 1 (ฝาง) ในหมู่บ้านยาง ก่อนเพื่อที่จะได้ซึมซับกับความยิ่งใหญ่ และยาวนาน ในการดำเนินงานของโครงการหลวง ...  :Big-QQ (43):

อ่าดีเลยลุงซุป งั้นขอค้นพิกัดGPS ก่อน
ข  อ  เ  ป็  น  ข้  า  ร  อ  ง  บ  า  ท  ทุ  ก  ช  า  ติ  ไ  ป

พิจิตรบ้านเรา ดอทคอม   "เว็บบ้านเรา เพื่อคนบ้านเรา"
จีพีเอสเที่ยวไทย ดอทคอม  เว็บท่องเที่ยว-ถ่ายภาพ และพิกัดGPS
และอีกมากเว็บ ...!?

 

                             
GPStt.com จะแสดงผลถูกต้อง ฟ้อนต์สวยงาม เข้าเว็บได้เร็ว เมื่อท่านใช้เบราเซอร์ Chrome และ Firefox เท่านั้น ไม่รองรับ Internet Explorer  

กลุ่มท่องเที่ยว การท่องเที่ยว (ททท.) | ททท.ภาคกลาง | ททท.ภูมิภาคภาคตะวันออก | กรม อช.สัตว์ป่าและพันธุ์พืช | จองที่พัก อช.ระบบออนไลน์ | จังหวัดแม่ฮ่องสอน | ททท. สนง.แม่ฮ่องสอน | ศูนย์ศิลปาชีพ จ. แม่ฮ่องสอน | กระทรวงวัฒนธรรม | ศูนย์ข้อมูลมรดกโลก(ก.วัฒนธรรม) | สำนักอุทยานแห่งชาติ | เว็บโครงการหลวงฯ | แหล่งน้ำพุร้อนธรรมชาติ (สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว)
การเดินทาง, เครื่องนำทาง การบินไทย | โอเรี่ยนไทย | แอร์เอเชีย | Solar Air | บางกอกแอร์เวย์ | บริษัทขนส่งจำกัด (บขส.) | การรถไฟแห่งประเทศไทย | สมบัติทัวร์ | สยามเฟิสท์ทัวร์ | นครชัยแอร์ | รถทัวร์ไทยดอทคอม | ฟรี.. แผนที่GPS ลาว กัมพูชา พม่า (ทั่วโลก) แบบเทพๆ | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 1 | ดูกล้อง CCTV ทางหลวง 2
ลิ้งค์ที่น่าสนใจทั่วไป.. ติดตามการส่งพัสดุEMS | ตรวจผลสลาก.. | speedtest.adslthailand.com | บอร์ดนักวิทยุสมัครเล่น | ตรวจสอบการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นจากชื่อหรือนามเรียกขาน |ตรวจสอบนามเรียกขานที่ถูกยกเลิก | กสทช.กิจการวิทยุสมัครเล่น (เค้าอัพเดทแล้วนะ 31/1/60) | Checkdomain.com | ดาวน์โหลดวีดีโอจากเฟซบุ๊ค | ร้านซ่อมดอทคอม | แปลงไฟล์ออนไลน์ youtube เป็น mp3 ลิ้งค์1, ลิ้งค์2, ลิ้งค์3 | convert PDF to JPG | ตระกูลแปลงไฟล์ | แปลงไฟล์ ภาพ webp เป็น jpg | หมากรุกออนไลน์ | ทีวีออนไลน์ | แปลงไฟล์เสียงออนไลน์ | ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย | หมากรุกออนไลน์ | เว็บแปลงค่า-1 | เว็บแปลงค่า-2 | ค้นหาและแบ่งปันหมายเลขโทรศัพท์ที่ไม่รู้จัก | แปลงลิ้งค์ URL ให้สั้นลง | โปรแกรม PhotoRoom ลบฉากหลังของภาพออนไลน์ | เช็คคีย์บอร์ดออนไลน์ ก่อนเสียเงินซื้อใหม่ |